กรณีศึกษา

สถานีสูบน้ำช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมเรื้อรัง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในเมือง Semarang ประเทศอินโดนีเซีย

สถานีสูบน้ำ Semarang ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมทางตอนกลางที่ได้รับผลกระทบบางส่วนของเมือง Senarang
Joko Rusmani, Consultant, Ministry For Public Works and Housing, Indonesia

ชาวอินโดนีเซียในเมือง Semarang เคยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ บริเวณใกล้ริมทะเล บางส่วนของเมืองจมอยู่ใต้น้ำที่มีระดับสูง ในช่วงที่มีฝนตกหนักและน้ำฝนปริมาณมาก และมวลน้ำปริมาณมากที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้บ้านเรือนเสียหาย เมืองถูกสร้างไว้อย่างมั่นคง ด้วยโซลูชั่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกรุนด์ฟอส เพื่อปกป้องประชาชนจากภัยน้ำท่วม นับตั้งแต่เปิดใช้งานในปี 2014 ระบบป้องกันน้ำท่วมได้ช่วยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่มาจากลุ่มแม่น้ำและในเมือง ซึ่งช่วยให้คุณภาพการใช้ชีวิตดีขึ้น และทรัพย์สินไม่ถูกทำลาย

สถานการณ์

เมือง Semarang ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับห้าของอินโดนีเซียที่มีพอร์ตการค้าขนาดใหญ่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมเป็นเวลาหลายปี

เมือง Semarang อยู่ในที่ราบต่ำทางตอนเหนือในจังหว้ด Java ประมาณหนึ่งในสามของเมืองอยู่ภายใต้กระแสน้ำที่รุนแรง โดยมีมหาสมุทรอยู่ด้านหนึ่งและมีภูเขาล้อมรอบเมืองนี้อยู่ทุกด้าน พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 13 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อนทำให้กลายเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงน้ำขึ้นสูง

การรวมกันของกระแสน้ำที่รุนแรงและฝนตกเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด Joko Rusmani, Consultant, Ministry For Public Works and Housing ในอินโดนีเซียกล่าว

“ เมื่อมีน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน น้ำที่ถูกคาดการณ์ว่าจะไหลลงสู่ทะเลก็จะถูกบล็อกจากกระแสน้ำที่สูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำนี้ไหลย้อนกลับ และเกิดน้ำท่วมพื้นที่ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง”

“ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อก่อน ถึงแม้ฝนตกเพียงเล็กน้อยอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมได้” Ari Soemantri ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ใน Jalan Permata Merah ย่านใจกลางเมือง Semarang กล่าว “ ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นเวลาหลายวันโดยไม่มีทีท่าว่าน้ำจะลดลง"

การทรุดตัวของแผ่นดินถึง 10 ซม. ต่อปีทำให้สถานการณ์แย่ลง Joko Rusmani กล่าวว่า เนื่องจากการสกัดน้ำใต้ดินมากเกินไปรวมกับการก่อสร้างอาคารที่ทำให้ดินมีภาระมากเกินไป ทั้งหมดนี้ พื้นที่จมใต้น้ำ ฝนตกและกระแสน้ำที่รุนแรง เป็นปัญหาในเมือง Semarang มาหลายปี

สถานีสูบน้ำแห่งใหม่กำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

Ari Soemantri (คนที่ 2 จากขวา), ยืนอยู่กับครอบครัวของเขาที่บ้านพักอาศัยในเมือง Jalan Permata Merah ภาคกลางย่าน Semarang stands with his family at their residence in Jalan Permata Merah, a central Semarang neighbourhood เขากล่าวว่าน้ำท่วมเคยทำให้เกิดภัยพิบัติในพื้นที่โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทุกวันนี้พื้นที่นี้เป็นย่านที่ "ปลอดน้ำท่วม" ทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น

การแก้ปัญหา

ในปี 2013 งานขนาดใหญ่ ได้ทีมงานระดับโลกสร้างสถานีสูบระบายน้ำที่สามารถจัดการกับปัญหาน้ำท่วมรุนแรง ทีมงานนี้จะมีบริษัทรับเหมา Brantas ของอินโดนิเซีย บริษัทที่ปรึกษา Oriental ของญี่ปุ่น the Japanese International Cooperation Agency (JICA),the Indonesian Ministry of Public Works and Human Settlements, รัฐบาลท้องถิ่นของ Semarang และกรุนด์ฟอส โครงการนี้เป็นโปรแกรมการจัดการทรัพยากรน้ำเชิงกลยุทธ์จากรัฐบาลอินโดนีเซีย

ทีมงานของโครงการได้ทำการปิดปากแม่น้ำของแม่น้ำที่ได้รับผลกระทบหลัก 2 แห่งคือแม่น้ำ Semarang และแม่น้ำ Baru Joko Rusmani กล่าว

“ และตอนนี้น้ำที่มาจากต้นน้ำจะถูกเก็บไว้ในบ่อน้ำเพื่อสูบน้ำออก” เขากล่าว “ ดังนั้นการไหลที่ได้จากแรงโน้มถ่วง เราก็เปลี่ยนเป็นการใช้ระบบสูบน้ำ”

เขากล่าวว่าบ่อน้ำสามารถที่จะเก็บน้ำได้ 130,000 ลบ.ม. ) ขณะที่สถานีสูบน้ำมีกำลังการผลิต 35 ลบ.ม. ต่อวินาทีหรือ 126,000 ลบ.ม. / ชั่วโมง ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง “ซึ่งตอนนี้เราต้องใช้การสูบน้ำ เราคาดว่าปั๊มจะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงไม่หยุด ต้องทำงานอย่างถูกต้องและได้รับการบำรุงรักษาที่ดี ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราต้องการน้ำก็สามารถสูบจากมหาสมุทรได้โดยไม่มีความผิดปกติ” เขากล่าว

พื้นที่ทางตอนเหนือของ Semarang จมอยู่ภายใต้ระดับน้ำท่วมสูง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วม ที่ท่าเรือจำเป็นต้องสร้างกำแพงกันดินให้สูงขึ้นเพื่อช่วยกันน้ำทะเลออก

ทีมงานโครงการได้เลือกใช้เครื่องสูบน้ำกรุนด์ฟอสรุ่น KPL เนื่องจากประสบการณ์ก่อนหน้านี้เคยใช้เครื่องสูบน้ำชนิดเดียวกันในเมือง Surabaya และ Jakarta และปั๊มเหล่านั้นทำงานให้ความไว้วางใจได้มานานกว่าสิบปี เขากล่าว

ปั๊มเหล่านี้ใช้งานง่ายมาก ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ฝนตกเราสามารถเปิดใช้งานระบบได้ทันที
Nur Wahid, Operations Manager

“ เนื่องจากเครื่องสูบน้ำมีกำลังการทำงานที่สูงมากและเป็นเครื่องสูบน้ำตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียในตอนนั้น เราจึงขอการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ของกรุนด์ฟอสในเดนมาร์ก” Joko กล่าว “ เรามั่นใจได้ว่าชิ้นส่วนอะไหล่ จะมีพร้อมให้บริการในประเทศได้อีก 15 ปี”

สถานีสูบน้ำเริ่มใช้งานตั้งแต่ ปี 2014 มันทำงานได้ตามที่คาดการณ์ไว้ Nur Wahid ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการกล่าว ในช่วงฤดูแล้ง พนักงานประจำไซต์งานจะทำงานกับปั๊มเป็นเวลาหนึ่งหรือสองชั่วโมงต่อวันตามความจำเป็น เพื่อให้บ่อระบายน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสมและทำการบำรุงรักษาปั๊มเป็นประจำทุกวัน “ โชคดีที่ปั๊มเหล่านี้ใช้งานได้ง่ายมาก ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่มีฝนตก เราสามารถสตาร์ทระบบได้ทันที” Nur Wahid กล่าว

ผลลัพธ์ที่ได้

ปัจจุบัน คนที่เคยประสบกับน้ำท่วมในบ้าน และตามถนนในเมืองตอนนี้ไม่ต้องประสบกับภัยน้ำท่วมอีกแล้ว พวกเขาไม่ต้องยกสูงบ้านเรือนที่พักอาศัย ที่ต้องเผชิญทั้งการทรุดตัวของดินและน้ำท่วมอีกต่อไป “ และถนนในตอนนี้ก็กลับมาใช้งานได้ปกติเหมือนที่เคยเป็น” Joko กล่าว “ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อก่อน ถนนหลายสายกลายเป็นทางน้ำ แต่ปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นแล้วถนนแห้งใช้งานได้ปกติ และไม่มีปัญหาอีกต่อไป”

เขากล่าวเสริมว่า ตอนนี้รัฐบาลสามารถที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายจากภัยน้ำท่วม “ ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้งในเมือง Semarang” เขากล่าว

ซึ่งเป็นอย่างนั้นจริงๆ ตอนนี้เมืองนี้น้ำไม่ท่วมแล้ว Ari Soemantri ผู้พักอาศัยที่นี่กล่าว “ อาคารสิ่งปลูกสร้างและที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมแล้ว”

Joko Rusmani ที่ปรึกษากระทรวงโยธาธิการและที่อยู่อาศัยในอินโดนีเซียนั่งอยู่ที่สวนสาธารณะใจกลางเมือง Semarang “ เราภูมิใจเพราะสิ่งนี้ได้นำเสนอวิธีแก้ปัญหาและได้รับการชื่นชมและเป็นตัวอย่างให้กับเมืองอื่นๆ” เขากล่าว

Joko กล่าวว่า“ สถานีสูบน้ำที่เมือง Semarang นั้น สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้กับศูนย์กลางของเมือง Semarang ได้ มันสามารถนำไปเป็นเป็นตัวอย่างหรือรูปแบบ ที่จะนำไปใช้กับพื้นที่ที่ประสบปัญหาคล้ายกัน เรามีความภาคภูมิใจเพราะสิ่งนี้ได้ช่วยแก้ปัญหาและได้รับการชื่นชม และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้อื่น หน่วยงานเทศบาลหลายแห่งในอินโดนีเซียที่ประสบปัญหาเหมือนกัน ได้เข้าเยี่ยมชมแหล่งกักเก็บน้ำของเรา เพื่อศึกษาวิธีการที่พวกเขาสามารถจัดการกับปัญหาที่เหมือนกัน ซึ่งจะใช้วิธีการที่ปรับให้เข้ากับเมืองของพวกเขา”

กรณีศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องจากลูกค้าที่ได้รับประโยชน์จากโซลูชั่นของกรุนด์ฟอสด้วย

การใช้งานที่เกี่ยวข้อง

ค้นหาการใช้งานจาก Grundfos ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ค้นหาผลิตภัณฑ์จากกรุนด์ฟอสที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้